เดียงพลาโต้ Dieng Plateau Plateau
เดียงพลาโต้ Dieng Plateau Plateau
เดียงพลาโต้ Dieng Plateau Plateau หรือ ที่ราบสูงเดียงซึ่งห่างจากเมืองยอกยาการ์ตา ไปทางทิศเหนือประมาณ 135 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางราว 3 ชั่วโมง เดินทางผ่านตลาดนัดหมู่บ้านรานัง ซารี ที่ยังคงอบอวลไปด้วยบรรยากาศการซื้อขายแบบดั้งเดิม เส้นทางไต่ระดับความสูงผ่าน เมืองโวโนโซโบ Wonosobo มุ่งหน้าสู่เดียงพลาโต ดินแดนแห่งขุนเขาที่ถือว่าเป็นแหล่งอู่ข้าวอู่น้ำของประเทศอินโดนีเซีย แม้จะอยู่บนเทือกเขาสูงที่ห่างจากระดับน้ำทะเลถึง 2093 เมตร แต่ด้วยสภาพอากาศที่หนาวเย็นสบายเกือบตลอดทั้งปีจึงทำให้ผู้คนบริเวณนี้หาเลี้ยงชีพด้วยการทำการเกษตรบนที่สูงแบบขั้นบันไดไปตามลักษณะที่เป็นภูเขา ไม่ว่าจะเป็นการปลูกพืช ผัก ผลไม้ ใบชา เป็นต้น ส่งผลให้ ที่ราบสูงเดียง กลายเป็นพื้นที่ที่มีวิวทิวทัศน์สวยงามมาก
กลุ่มจันทิอรชุน Candi Arjuna Complex สร้างขึ้นเพื่อบูชาแด่ท่านอรชุน เจ้าชายวีรบุรุษของฝ่ายปาณฑพในมหาภารตยุทธและถือเป็นไฮไลท์ทางการท่องเที่ยวแห่งที่ราบสูงเดียง เป็นกลุ่มปราสาทหินเล็กๆ 5 หลัง ประกอบด้วย จันทิอรชุน Candi Arjuna, จันทิเสมาร์ Candi Semar, จันทิศรีกัณฑิ Candi Srikandi, จันทิปันตาเทวา Candi Puntadewa และ จันทิเสมบัดรา Candi Sembadra

คำว่า“เดียง” ในภาษาพื้นเมืองโบราณเขียนว่า “Di Hyang” แปลว่า “สถานที่ของบรรพบุรุษ” แสดงถึงความเชื่อมโยงแนวคิดในการบูชาวิญญาณบรรพบุรุษที่มีมาก่อนและเชื่อกันว่า เดียง เป็นจุดกำเนิดของอารยะธรรมฮินดูบนเกาะชวา มีการสร้างเทวาลัยที่มีอายุเก่าแก่ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 7-12 เพื่อเป็นที่สถิตของเทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์-ฮินดูในลัทธิ ไศวนิกาย ซึ่งเป็นความเชื่อใหม่จากอินเดียที่เข้ามาผสมผสานกับความเชื่อท้องถิ่น สันนิษฐานว่าเทวาลัยแห่งนี้น่าจะสร้างในราชวงศ์สัญชัย (Sanjaya dynasty) ที่ได้สถาปนาราชวงศ์แรกแห่งอาณาจักรมะตะรัม (Kingdom of Mataram) ในพื้นที่ชวาภาคกลางราวปี ค.ศ. 730 โดยกษัตริย์พระนามว่าศรีมหาราชาสัญชัย (Sri Maharaja Sanjaya)

กลุ่มจันทิอรชุน Candi Arjuna Complex สร้างขึ้นเพื่อบูชาแด่ท่านอรชุน เจ้าชายวีรบุรุษของฝ่ายปาณฑพในมหาภารตยุทธและถือเป็นไฮไลท์ทางการท่องเที่ยวแห่งที่ราบสูงเดียง เป็นกลุ่มปราสาทหินเล็กๆ 5 หลัง ประกอบด้วย จันทิอรชุน Candi Arjuna, จันทิเสมาร์ Candi Semar, จันทิศรีกัณฑิ Candi Srikandi, จันทิปันตาเทวา Candi Puntadewa และ จันทิเสมบัดรา Candi Sembadra

กลุ่มจันทิอรชุน Candi Arjuna Complex เทวาลัยในกลุ่มนี้ มีลักษณะเป็นปราสาทฮินดูโบราณสี่เหลี่ยมขนาดเล็ก มีช่องทางเข้าฝั่งตะวันออกด้านเดียวที่เหลือปิดทึบทำเป็นซุ้มเทพเจ้า อาทิ ซุ้มพระพรหม พระนารายณ์ ส่วนตามทับหลังหน้าต่าง ประตู สลักเป็น“หน้ากาล”จอมกิน หน้าอวบอ้วนแสดงให้เห็นว่าหน้ากาลที่นี่กินอิ่ม กินดีมีสุข ซึ่งทางช่างผู้สร้างอาจต้องการสะท้อนให้เห็นว่าเดียงพลาโตนั้นเป็นแหล่งอาหารอันอุดมสมบูรณ์ก็เป็นได้