ทางรถไฟสายทรานส์ไซบีเรีย Trans Siberia Railway
ทางรถไฟสายทรานส์ไซบีเรีย
Trans Siberia Railway
ทางรถไฟสายทรานส์ไซบีเรีย Trans Siberia Railway หรือเรียกสั้นๆ ว่า ทรานซิบ Transsib เป็นเครือข่ายทางรถไฟที่เชื่อมโยงกรุงมอสโก กับดินแดนทางตะวันออกอันห่างไกลของรัสเซีย, มองโกเลีย ,จีน และ ทะเลญี่ปุุนเข้าด้วยกัน หรือพูดง่ายๆ คือ เชื่อมรัสเซียฝั่งตะวันตกกับฝั่งตะวันออก
เส้นทางสายนี้เริ่มสร้างขึ้นใน ปี 1891 ตามแนวคิดริเริ่มของเซอร์เกย์ วิตเต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของ รัสเซียในสมัยนั้น ทั้งนี้ในสมัยปลายศตวรรษที่ 19 มีการค้าขายในย่านเอเซียตะวันออกกันอย่างมาก ญี่ปุ่น, อังกฤษ และอเมริกา ก็ได้มาตั้งเขตเช่าของตนในประเทศจีนกันแล้ว และเขตไซบีเรียก็อยู่ห่างจากกรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ขนาดทหารม้าคอสแซก และบรรดาม้าเร็ว นั่งเลื่อน และขี่ม้าตามถนนดิน จากไซบีเรียมาเมืองหลวงต้องใช้เวลา 1 ปีขึ้นไป ทำให้ทหารม้าคอสแซ็กเหล่านี่อยู่เหมือนถูกตัดขาดจากโลกภายนอก เป็นอันตรายต่อจักรวรรดิรัสเซียอย่างยิ่ง พระเจ้าซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 3 จึงมีพระบรมราชนุมัติให้สร้างทางรถไฟสายทรานส์ไซบีเรียเชื่อมเมืองท่า วลาดิวอสต็อก Vladivostok ซึ่งใช้ได้ตลอดปี กับ นครมอสโคว์ Moscow และ กรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก St. Petersburg ขึ้น โดยให้ ซาเรวิชนิโคไลอเล็กซานโดรวิช (พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2) เสด็จฯ วางศิลาฤกษ์ที่วลาดิวอสต็อก เมื่อเวลา 10 นาฬิกาของวันที่ 19 พฤษภาคม 1891 (พ.ศ. 2434) หลังจากมีพระราชดำริให้สร้างทางหลังจากที่ได้รับใบบอกจากบรรดาผู้ว่าราชการจังหวัดในเขตไซบีเรียว่ามีความยากลำบากเพียงไหน
การสร้างทางรถไฟสายนี้ได้ใช้โดยใช้เงินกู้ จากหลายแหล่ง และระดมบรรดานักโทษการเมือง ทหาร ชาวไร่ชาวนา คนงานรถไฟ หลายงวด บางงวดถึงเกือบแสนคน (89000 คน) มาสร้างทางนี้ได้ สะพานเล็กๆ ก็ใช้ไม้สนในป่าสร้างเอา แต่สะพานใหญ่ต้องขนเหล็กและเครื่องมือโดยใช้เลื่อนไปตามถนนดิน และ เรือ ขนส่งวัสดุและอุปกรณ์ไปให้คนงาน รวมงบประมาณที่ใช้ในการสร้างสูงถึง 1.455 ล้านรูเบิลทองคำ
ขณะนั้นรัสเซียมีทางรถไฟจากกรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิรก์ไปถึง เอกาเตรินเบิร์ก Ekaterinburg (เมืองในเขตไซเรียซึ่งเป็นที่ปลงพระชนม์พระเจ้าซาร์นิโคลัส และ พระราชวงศ์) ตั้งแต่ปี 1878(พ.ศ. 2421) จึงได้มีขยายทางไปตะวันออก ถึงเมือง Omsk ปี 1894 ถึง Irkutsk และทะเลสาบไบคาล ถึงเมืองวลาดิวอสต็อกเมื่อ 1901 (พ.ศ. 2444) แต่กระนั้นผู้โดยสารต้องนั่งเรือกลไฟตัดน้ำแข็ง ข้ามทะเลสาบไบคาล กว่าจะมีทางรถไฟลัดเลาะทะเลสาบได้ก็ 18 กันยายน (1 ตุลาคม) 1904 (2447)
อย่างไรก็ตามเส้นทางดังกล่าวต้องผ่านแดนจีน (มณฑลเฮยหลงเจียง Heilongjiang- แมนจูเรีย Manchuria) ซึ่งได้ก่อความยุ่งยากในการส่งกำลังบำรุงเมื่อเกิดสงครามกับญี่ปุ่น ปี 1905 ซึ่งคราวนั้นกองทัพรัสเซียพ่ายกองทัพญี่ปุ่นอย่างยับเยิน ทำให้พระเจ้าซาณ์นิโคลัสที่ 2 มีพระบรมราชานุมัติให้สร้างเส้นทางสายใหม่ที่ไม่ผ่านเข้าแดนจีนเมื่อปี 1907 กว่าจะได้ทางรถไฟสายไปวลาดิวอสต้อกโดยไม่ผ่านแดนจีน (สายร็อสซียา - ผ่านคาบาร็อฟสก์) ก็วันที่ 5 ตุลาคม (18 ตุลาคม), 1916 (พ.ศ. 2459) ขณะที่รัสเซียกำลังติดพันสงครามโลกครั้งที่1 อยู่ งานชิ้นสุดท้ายที่ทำสำเร็จคือการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำอาร์มูร์ (Armur) ยาว 3 กิโลเมตร รวมระยะทางทางรถไฟสายทรานส์ไซบีเรีย ระหว่าง กรุงมอสโคว ถึง วลาดวอสต็อก มีความยาวถึง 9,289 กิโลเมตร
ปัจจุบันจุดเริ่มต้นของทรานไซบีเรียอยู่ที่ สถานียารอสลาฟสกี ในมอสโก ส่วนสถานีสุดท้ายยังอยู่ที่เมืองวลาดิวอสตอค โดยแบ่งออกเป็น 4 เส้นทางดังนี้
เส้นทางสายหลักอันดับที่หนึ่ง คือ สายทรานส์มองโกเลีย ซึ่งมาบรรจบกับสายทรานส์ไซบีเรียนที่เมืองอูลานนอูเด บนฝั่งตะวันออกของทะเลสาบไบคาล จากอูลาน อูเด ทรานส์มองโกเลีย มุ่งลงไปทางใต้ สู่เมืองอูลานบาตาร์ ก่อนที่จะวิ่งไปยังทางตะวันออกเฉียงใต้ของกรุงปักกิ่ง ในปี 1991 เส้นทางสายที่สี่ ซึ่งวิ่งขึ้นต่อไปทางเหนือสร้างเสร็จสมบูรณ์ หลังจากการก่อสร้างแบบเป็นระยะ ต่อเนื่องมานานถึง 5 ทศวรรษ โดยรู้จักกันในชื่อ ไบคาล อามูร์ เมนไลน์ เป็นการขยายเส้นทางของเส้นทาง ทรานส์ไซบีเรียไปทางตะวันตกของทะเลสาบไบคาลอีกหลายร้อยไมล์ โดยผ่านทะเลสาบนี้ไปถึงขอบด้านเหนือ สุดของทะเลสาบ และไปสู่แปซิฟิกถึงทางเหนือของเมืองคอบารอฟสค์, ที่โซเวตสกายากาวาน ทั้งนี้ เส้นทางนี้ นําไปสู่พื้นที่ทางเหนืออันสวยงามของทะเลสาบไบคาลแล้ว ยังผ่านดินแดนต้องห้ามของรัสเซียด้วย
สายหลักอันดับที่สอง คือ สายทรานส์ไซบีเรีย วิ่งจากมอสโก หรือเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กไปยังเมืองวลาดีวอสตอค ผ่าน ทางใต้ของไซบีเรีย เส้นทางนี้สร้างขึ้นระหว่างปี 1891-1916 และยังเชื่อมโยงกับเส้นทางสายหลักอื่นๆ ในรัสเซีย ที่ที่เชื่อมกับ 2 เมืองนี้ด้วย เส้นทางสายนี้มีระยะทาง 9,289 กิโลเมตร ผ่านในช่วงเวลาแตกต่างกันของโลก 8 ช่วง และใช้เวลาการเดินทางทั้งหมด 7 วัน
เส้นทางหลักอันดับสอง คือ สายทรานส์แมนจูเรีย ซึ่งมาบรรจบกับสายทรานไซบีเรียที่เมืองตาร์สกายา ซึ่งห่าง จากทะเลสาบไบคาลไปทางตะวันออกประมาณ 1,000 กิโลเมตร จากตาร์สกายา ทรานส์แมนจูเรียน มุ่งหน้าไป ทางตะวันออกเฉียงใต้สู่จีน แล้ววิ่งลงไปยังกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน