
รามัญ - ยะไข่ อรุณรุ่งแห่งอารยะเมียนม่าร์
อารยธรรมของพม่านั้นมีความยาวนานและซับซ้อน มีประชาชนหลายเผ่าพันธุ์เคยอาศัยอยู่ในดินแดนแห่งนี้ เผ่าพันธุ์เก่าแก่ที่สุดที่ปรากฏได้แก่มอญ ต่อมาราวพุทธศตวรรษที่ 13 ชาวพม่าได้อพยพลงมาจากบริเวณพรมแดนระหว่างจีนและทิเบต เข้าสู่ที่ราบลุ่มแม่น้ำอิรวดี และได้กลายเป็นชนเผ่าส่วนใหญ่ที่ปกครองประเทศในเวลาต่อมา ความซับซ้อนของประวัติศาสตร์พม่ามิได้เกิดขึ้นจากกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในดินแดนพม่าเท่านั้น แต่เกิดจากความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้านอันได้แก่ จีน อินเดีย บังกลาเทศ ลาว และไทยอีกด้วย
อาณาจักรมอญ มนุษย์ได้เข้ามาอาศัยอยู่ในดินแดนของประเทศพม่าเมื่อราว 11,000 ปีมาแล้ว แต่ชนเผ่าแรกที่สามารถสร้างอารยธรรมขึ้นเป็นเอกลักษณ์ของตนได้ก็คือชาวมอญ ชาวมอญได้อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในดินแดนแห่งนี้เมื่อราว 2,400 ปีก่อนพุทธกาล และได้สถาปนา อาณาจักรสุธรรมวดี อันเป็นอาณาจักรแห่งแรกขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 2 ณ บริเวณใกล้เมือง สะเทิม หรือ ท่าตอน Thaton ชาวมอญได้รับอิทธิพลของศาสนาพุทธผ่านทางอินเดียในราวพุทธศตวรรษที่ 2 ซึ่งเชื่อว่ามาจากการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในรัชสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช บันทึกของชาวมอญส่วนใหญ่ถูกทำลายในระหว่างสงคราม วัฒนธรรมของชาวมอญเกิดขึ้นจากการผสมเอาวัฒนธรรมจากอินเดียเข้ากับวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของตนเองจนกลายเป็นวัฒนธรรมลักษณะลูกผสม ในราวพุทธศตวรรษที่ 14 ชาวมอญได้เข้าครอบครองและมีอิทธิพลในดินแดนตอนใต้ของเมียนมาร์ จนกระทั่งล่มสลายลงในสมัยของพระเจ้าอโนรธา หรือ พระเจ้าอนิรุทธ์ แห่งอาณาจักรพุกาม ซึ่งเจริญขึ้นภายหลังทางตอนกลางของประเทศ พระองค์สามารถรวบรวมแผ่นดินพม่าให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันสำเร็จโดยทรงตีเมืองท่าตอนของชาวมอญได้ในปีพุทธศักราช 1600
ยุคทองของมอญมี 2 ยุค โดยยุคแรกเริ่มต้นที่ เมาะตะมะ เมืองหลวงของอาณาจักรมอญ ตั้งอยู่บนปากน้ำบนฝั่งเหนือของแม่น้ำสาละวิน มอญได้ตั้งตัวเป็นอิสระในรัชสมัยเจ้าฟ้ารั่ว หรือ ที่คนไทยรู้จักกันดีในชื่อ มะกะโท เมื่อปี พ.ศ.1830 ราชวงศ์เจ้าฟ้ารั่ว ซึ่งเรียกกันว่า ราชวงศ์หงสาวดีหรือไทยใหญ่ - ตะเลง ราชวงศ์นี้ได้ปกครองอาณาจักรมอญ มาจนถึงปี พ.ศ.2082 มีกษัตริย์ปกครองต่อมา 19 องค์ พญาอู่ ซึ่งครองราชย์ เมื่อปี พ.ศ.1896 - 1928 ได้ย้ายราชธานีจากเมืองเมาะตะมะไปตั้งที่ กรุงหงสาวดี หรือที่เรียกว่า พะโค (เมียนมาร์ออกเสียงแบ่กู) โดยพระเจ้าพญาอู่ หรือ ปยาอู ได้ย้ายราชธานีมาอยู่ที่หงสาวดีในปี พ.ศ. 1908 และเมืองนี้ได้เจริญรุ่งเรืองติดต่อกันมาเกือบ 300 ปี พระมหากษัตริย์ของมอญที่ไทยเราคุ้นเคยพระนาม ได้แก่ พระเจ้าราชาดีริด (พระเจ้าราชาธิราช) พระนางชินส่อปุ๊ (พระนางเช็งสอบู) และพระเจ้าธรรมเจดีย์ เป็นต้น อาณาจักรมอญได้รบพุ่งกับชาวพม่ามาเป็นเวลานาน ผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะเรื่อยมา จนใน พ.ศ. 2084 พระเจ้า ตะเบงเชวตี้ ได้บุกตีเมืองหงสาวดีในสมัยของพระเจ้าสการวุตพีกษัตริย์องค์สุดท้ายของอาณาจักรมอญ และยึดเมืองได้ ทรงสถาปนาหงสาวดีเป็นราชธานีของอาณาจักรพุกามที่ 2 อาณาจักรมอญได้ฟื้นขึ้นอีกใน พ.ศ. 2283 แต่อยู่ได้เพียง 17 ปี ก็ถูกพระเจ้าอลองพญาแห่งราชวงศ์โคบองของพม่า กรีฑาทัพมาปราบปรามและรวมอาณาจักรมอญไว้ในอำนาจของพม่าเรื่อยมา ชาวมอญที่หนีรอดได้มาพึ่งไทย บางส่วนที่เหลืออยู่ก็ถูกกลืนโดยการแต่งงานกับชาวพม่า และถูกผนวกเป็นรัฐหนึ่งในประเทศเมียนมาร์มาจนปัจจุบันนี้ แต่ชาวมอญยังมีความพยายามกู้ชาติมาจนทุกวันนี้เช่นกัน
อาณาจักรยะไข่ อายุกว่า 2,000 ปี เกิดขึ้นร่วมสมัยพุทธกาล ก่อนการเกิดของอาณาจักรพุกาม อันเป็นอาณาจักรแรกของพม่า เป็นพันปี ยะไข่เป็นอาณาจักรอิสระ และมีประวัติศาสตร์สัมพันธ์กับแคว้นเบงกอล อาณาจักรพม่า และมอญ มาเป็นเวลาอันยาวนาน อาณาจักรโบราณในแคว้นนี้นี้แบ่งได้ 4 ยุค ดังนี้
• อาณาจักร ธัญญาวดี [Dhanyawaddy] ราว พุทธศตวรรษ ที่ 1-8 ยุคนี้ ที่พระเจ้าจันทะสุริยะ ทรงสร้างพระมหามัยมุณี
• อาณาจักร เวสาลี [Vesali] ราว พุทธศตวรรษ ที่ 8 -13
• อาณาจักร เลโม [Lemro] ราว พุทธศตวรรษ ที่ 13 -18 อาณาจักรพุกามเพิ่งเกิดในสมัยนี้
• อาณาจักร มรัค อู [Mrauk-U] ราวพุทธศตวรรษ ที่ 18 -23 ร่วมสมัยกับ อาณาจักรสุโขทัย และอาณาจักรอยุธยา
ยะไข่ เป็นรัฐที่สภาพทางภูมิศาสตร์ ติดกับชายฝั่งทะเล สัมพันธ์ใกล้ชิดกับบังคลาเทศเพื่อนบ้านที่อยู่ทางเหนือ มากกว่าพม่าที่เป็นต้นสังกัดเพราะอุปสรรคทางธรรมชาติ มีเทือกเขายะไข่ หรืออาระกันโยมา ซึ่งมีความสูง 3,000 - 6,000 ฟุต ทอดตัวจากเหนือลงใต้ เป็นดุจกำแพงที่กั้นรัฐยะไข่ไว้จากดินแดน ส่วนใหญ่ของพม่า ในอดีตการติดต่อทางบก ระหว่างยะไข่กับพม่าเกือบจะกระทำไม่ได้เลย นอกจากผ่านช่องเขาสองช่องคือ ช่องเขาอัน ที่ใช้ออกไปสู่เขตมินบู และช่องเขาตาวกุบ ใช้ออกไปสู่เมืองแปร เหตุนี้ยะไข่จึงมีพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ ที่แยกต่างหากจากพม่าเป็นส่วนใหญ่ เมืองสำคัญคือ เมืองอัคยับ ซึ่งเป็นเมืองท่าสำคัญ มาตั้งแต่อังกฤษเข้ายึดครองรัฐยะไข่ได้ในปี พ.ศ.2369
แต่โบราณมา เมื่อเริ่มมีอาณาจักรแรก ธัญญาวดี Dhanyawaddy ตั้งแต่พุทธกาล เกิดและแตกดับวนมารวม 4 อาณาจักร จบความรุ่งเรืองที่ อาณาจักร มรัค อู Mrauk – U ย่อมมีเรื่องราวสัมพันธ์มากมาย กับเพื่อนบ้าน ทั้งรักทั้งรบ ทั้งให้ทั้งรับ เป็นการถ่ายเทวัฒนธรรม ผสมผสานใกล้ชิด จนถึงปัจจุบัน ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวยะไข่ บางส่วนเป็นชาวอินเดีย และบังคลาเทศ ชาวยะไข่เป็นเชื้อสายเดียวกับชาวพม่า ภาษาที่ใช้พูดก็เป็นภาษาพม่า ส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา และส่วนน้อยนับถือศาสนาอิสลามนิกายสุหนี่ ชาวยะไข่มุสลิมเหล่านี้เรียกว่า โรฮิงยา ส่วนใหญ่สืบเชื้อสายมากจากชาวอินเดียมุสลิมในเบงกอล ส่วนใหญ่อยู่ทางภาคเหนือของยะไข่ในเขตมลายู ส่วนชาวยะไข่ที่นับถือพระพุทธศาสนา อยู่กันมากทางภาคใต้
นักประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่า ชนเชื้อสายพม่าเข้ามาตั้งถิ่นฐานในรัฐยะไข่ ตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 ก่อนหน้านั้น บริเวณรัฐยะไข่เป็นถิ่นที่อยู่ของพวกอินเดีย ที่มาจากฝั่งตะวันตกของอ่าวเบงกอล ราชวงศ์ที่ปกครองบริเวณนี้ก็เป็นราชวงศ์อินเดีย นักประวัติศาสตร์เชื่อว่า พระพุทธศาสนาได้แพร่เข้าสู่รัฐยะไข่ ก่อนดินแดนอื่น ๆ ในพม่าจะเห็นได้จากพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของยะไข่คือ พระมหามุนี อายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 8 - 9 ก่อนหน้าพุทธศตวรรษที่ 15 บริเวณรัฐยะไข่มักถูกพวกไทยใหญ่ พม่า และเบงกอล บุกปล้นสดมภ์อยู่เสมอ จนกระทั่งพม่าได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานได้อย่างถาวร
ในตอนปลายพุทธศตวรรษที่ 16 ในสมัยของ อาณาจักร เลโม พระเจ้าอนิรุทธ์ แห่งอาณาจักรพุกามของพม่า ได้เข้ามาปราบปรามยะไข่ ทำให้ยะไข่ต้องอยู่ใต้อำนาจของพุกามเรื่อยมา จนพุกามถูกกองทัพมองโกลโจมตีในปี พ.ศ.1830 ยะไข่เป็นอิสระอยู่ได้ระยะหนึ่ง ก็ต้องเผชิญกับการรุกรานของแคว้นเบงกอล อาณาจักรพม่า และมอญ สลับกันไป ในปี พ.ศ.1947 พม่าได้เข้ามามีอิทธิพลในยะไข่อีก อาณาจักรยะไข่จึงขอความช่วยเหลือจากเบงกอล กษัตริย์ยะไข่ต้องทรงยินยอมมีนามแบบอิสลามต่อท้ายพระนาม
อาณาจักรมรัค อู เริ่มสถาปนา เมื่อปี พ.ศ 1973 โดยกษัตริย์ มอง ซอ มอน [Mong Saw Mon] ก็จะร่วมสมัย กับอาณาจักรสุโขทัยและอยุธยา มีกษัตริย์ปกครองต่อมาอีก 47 พระองค์ จวบจนอาณาจักรล่มสลาย ถูกครอบครองโดยพม่า ในปี พ.ศ 2327 ช่วงที่ไทยเพิ่งสถาปนากรุงเทพฯ ขึ้นใหม่ๆหมาดๆ ในตอนต้นพุทธศตวรรษที่ 21 ยะไข่ต้องเผชิญกับความวุ่นวายภายใน กษัตริย์ส่วนใหญ่ถูกปลงพระชนม์ ต่อมาในช่วงปี พ.ศ.2074 - 2096 ยะไข่มีกษัตริย์ที่มีความสามารถพระนามว่า มินบิน สามารถเป็นอิสระจากเบงกอล และการรุกรานจากพม่า ชาวตะวันตกเริ่มเข้ามาค้าขายกับยะไข่ พระเจ้ามินบินจัดให้มีกองทหารรับจ้างโปรตุเกส ในบางครั้งกองกำลังผสมของยะไข่ และโปรตุเกส ได้บุกรุกเข้าไปจนถึงลุ่มน้ำคงคา จนได้รับสมญานามว่า ภัยสยองแห่งลุ่มน้ำคงคา ยะไข่ ได้ใช้กองกำลังรับจ้างโปรตุเกส เข้าทำลายเมืองหงสาวดี และยึดเมืองสิเรียมของพม่าไว้ได้ ในปี พ.ศ.2142 และยินยอมให้ชาวโปรตุเกสชื่อ ฟิลิป เดอ บริโด เป็นเจ้าเมืองสิเรียม
ในตอนต้นพุทธศตวรรษที่ 23 รัชสมัยพระเจ้าสันทธรรม (พ.ศ.2195 - 2227) ยะไข่ได้ทำสงครามกับเบงกอล ราชวงศ์มุกัล สามารถยึดเมืองจิตตะกอง และเมืองเดียนกา ได้ในปี พ.ศ.2209 หลังจากนั้น ยะไข่ได้อ่อนแอลงมาก และพม่ายึดยะไข่ได้ในปี พ.ศ.2327 กษัตริย์พม่าที่เข้ารุกรานต่อตีครอบครอง มรัค อู ได้สำเร็จก็คือพระเจ้าปดุง ผลจากการครอบครองยะไข่สำเร็จ บำเหน็จรางวัลก็คือการเอา พระมหามัยมุณี มาเป็นของพม่า เป็นการสร้างความเกลียดชัง ร้าวฉานที่บาดลึกในจิตใจของชาวยะไข่ ประเด็นนี้เป็นเรื่องที่ยังฝังใจชาวยะไข่มาจนจวบทุกวันนี้ พระเจ้าสะมะดา พระราชวงศ์และชาวยะไข่ ราว 20,000 คน ถูกกวาดต้อนไปเป็นเชลย พระมหามุนี ถูกนำไปประดิษฐานที่อังวะ ชาวยะไข่เป็นจำนวนมากได้หนีไปอยู่ในเขตแคว้นเบงกอล โดยเฉพาะที่เมืองจิตตะกอง สิริรวมแล้ว อาณาจักร มรัค อู ของชาวยะไข่ ก็มีอายุนับได้ 355 ปี นับจากการล่มสลาย
พลาเน็ทบลู นำท่านเดินทางย้อนรอยอารยะ อรุณรุ่งแห่งเมียนมาร์ เจาะลึก 2 อาณาจักรโบราณที่ร่วมรังสรรค์อารยธรรมพม่าในยุคโบราณ ออกเดินทางจากแม่สอด สู่ พะอัน เมืองหลวงของรัฐกระเหรี่ยง แวะนมัสการ เจดีย์ Kyauknalatt Pagoda มีลักษณะเป็นเจดีย์ทองสร้างบนเขาหินกลางเหมือนเขาตะปูอันศักดิ์สิทธิ์ของชาวกระเหรี่ยง ชม ถ้ำหมื่นพระ Kaw Gone Cave ที่ประดิษฐานพระพุทธรูปโบราณที่ถูกแกะสลักด้วยศิลปะแบบต้นฉบับมอญตามผนังถ้ำมากมาย และ วัดสวนลุมพินี Lumpini Garden Monastery เชิงเขาเซกาบิน แวะกราบสักการะ พระพุทธรูป ราว 2,600 องค์ เรียงรายอยู่รอบๆเชิงเขาเซกาบิน
จากนั้นนำท่านเยือนเมืองสำคัญของอาณาจักรมอญโบราญ เริ่มตั้งแต่ เมืองเมาะละแหม่ง กราบนมัสการ พระนอนที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่ วัดป่าวินเส่งตอว์ยะ Win Sein Taw Ya และ พระเจดีย์ไจ๊ตาหลั่น Kyaikthanlan สถานที่ที่มะเมียะมาบวชชี และแวะนมัสการ พระเจดีย์ขาวแห่งเมืองเมาะตะมะ ที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำสาละวิน เมืองเมาะตะมะ Mottama ของ มะกะโท หรือ พระเจ้าฟ้ารั่ว เวฬารุ อดีตเมืองหลวงเก่าของอาณาจักรมอญ และชม เจดีย์คู่เมือง เจดีย์ชเวซายัน Shwe Zan Yan Pagoda แห่งเมืองสะเทิม เมืองหลวงแห่งแรกของ อาณาจักรมอญ สุธรรมวดี จากนั้นไปกราบบูชาพระเกศธาตุศักดิ์สิทธิ์ ที่ พระธาตุอินทร์แขวน เจดีย์ไจ้ทีโย Kyaikhtiyo Pagoda 1 ใน 5 มหาบูชาสถานของชาวมอญ และชาวพม่า ไปกราบ พระธาตุมุเตา Shwe Mawdow เจดีย์เก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองและเป็น 1 ใน 5 มหาบูชาสถานสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของพม่า นมัสการ พระพุทธไสยาสน์เฉว่ตาเหลียว Shew Thalyang Buddha และชม พระราชวังบุเรงนอง ใจกลางเมืองหงสาวดี (พะโค) ชม เจดีย์เยเลพญา บนเกาะกลางน้ำ ที่เมืองท่า สิเรียม
แวะกราบนมัสการ พระมหาเจดีย์ชเวดากอง Shwedagon Pagoda พระเจดีย์ทองคำคูบ้านคู่เมืองประเทศพม่าอายุกว่าสองพันห้าร้อยกว่าปี ก่อนบินลัดฟ้าสู่เมืองซิตเวย์ เมืองหลวงแห่งรัฐยะไข่ ล่องไปตาม แม่น้ำเลเมียว Lemro ไปชม หมู่บ้านคนสักหน้า Chin Tribe Village ของชนเผ่าชิน ในเมืองมรัค อูที่ยังคงมีวิถีชีวิตแบบโบราณกันอยู่ เรียนรู้วิถีชีวิต ของชนเผ่าชิน พร้อมชมลวดลายการสักหน้าแบบต่างๆของแม่เฒ่าในหมู่บ้าน
ชมโบราณสถานในอาณาจักร มรัค อู มีกระจัดกระจายอยู่ทั่วอาณาจักร ถ้าจะนับรวมให้ครอบคลุมถึงอาณาจักรก่อนหน้าอย่าง อาณาเวสาลี ที่อยู่ห่างไปไม่ไกลทางทิศเหนือแล้ว มีกว่า 1,000 เจดีย์ นำท่านย้อนเวลาไปเยี่ยมสักการะ วัดมหามุนี พญา Mahamumi Paya ซึ่งเคยประดิษฐาน พระมหามุนี แห่งอาณาจักรธัญญาวดี และไปกราบนมัสการ พระสุ ตวง พญา พระ Hus Taung Pre พระพุทธรูปศิลาสลักโบราณ สมัยอาณาจักร เวสาลี และไปเยือนสุดยอด 4 ศาสนสถาน แห่งอาณาจักร มรัค อู ได้แก่ วัดสิทธิ์ตวง พญา Shite Thaung Temple, วัดโคตวงตวง พญา Ko Thaung Temple, วัดอันดอว์ ธิน Anndaw Thein, และ วัดทุกขันธ์ เทียน พญา Htukkant Thein Temple